วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การแสดงนาฏศิลป์ไทยพื้นเมือง

การแสดงภาคกลาง
          เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว 
ได้แก่
     - รำสีนวล                                                         - ระบำดาวดึงส์
    - กลองยาวหรือเถิดเทิง                                      - ระบำย่องหงิด
    - ระบำทำนาหรือระบำชาวนา                               - ระบำเทพบันเทิง
    - ระบำเกี่ยวข้าว                                                 - ระบำกฤษดาภินิหาร
    - เพลงพิษฐาน                                                  - ระบำม้า
    - เพลงฉ่อย                                                       - ระบำดอกบัว 
    - เพลงเหย่อย                                                   - ระบำกริชสุหรานากง
    - เพลงพวงมาลัย                                               - ระบำนกยูง
    - เพลงเรือ                                                        - ระบำมฤคระเริง
    - เพลงปรบไก่                                                   - ระบำกาสร
    - รำแม่ศรี                                                         - ระบำพรหมมาสตร์
    - เพลงอีแซว                                                    - ระบำกินรีร่อน
    - ลำตัด                                                            - ระบำอัปสราสำอาง
    - ลิเก                                                               - ระบำพม่านิมิต
    - รำวงมาตรฐาน                                                - ระบำจีนไทยไมตรี
    - รำต้นวรเชษฐ์                                                 - ระบำชุมนุมเผ่าไทย  
   
 รำสีนวล



                เป็นการรำประเภทการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวไทยในภาคกลาง เนื่องจากการรำสีนวลเป็นศิลปะที่สวยงามทั้งท่ารำและเพลงขับร้อง จึงพัฒนามาเป็นชุดสำหรับจัดแสดงในงานทั่วๆไป และนับเป็นการแสดงนาฏศิลป์อีกชุดหนึ่งที่นิยมแพร่หลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ลักษณะท่ารำและคำร้องของรำสีนวลมีความหมายถึงอิริยาบถที่นุ่มนวลอ่อนช้อยของกุลสตรี
(ที่มา: http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/16337-027945/)

ระบำเถิดเทิง


ประวัติความเป็นมา
     การเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน  เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย  ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น กลองยาว”  พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง  ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง  มีทำนองเป็นเพลงพม่า  เรียกกันมาแต่เดิมว่า  เพลงพม่ากลองยาว  ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ  กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา  ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน  เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้  จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า  เพลงพม่ารำขวาน
     เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย  ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง  สืบมาจนตราบทุกวันนี้  กลองยาวที่เล่นกันในวงหนึ่ง ๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพายเฉวียงป่าของผู้ตี  ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนังด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว  บานปลายเหมือนกับกลองยาวของชาวเชียงใหม่  แต่กลองยาวของชาวเชียงใหม่เป็นกลองยาวจริง ๆ ยาวถึงประมาณ  2 วา  ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้  ยาวเพียงประมาณ  3  ศอกเท่านั้น  ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก  ทางภาคอีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า  กลองหาง
     กลองยาวแบบนนี้ของพม่าเรียกว่า  โอสิ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม  เว้นแต่ของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน  ขึ้นหนังทั้งสองข้าง  ผูกสายสะพายตีได้  ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของพม่าและกลองของชาวไทยอาหม  ดูวิธีการเล่นเป็นแบบเดียวกัน  อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้
     เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี ณ นครย่างกุ้งและมัณฑเลย์  ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน  พ.ศ.2509  ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่งเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์สถานและโบราณสถานเรื่องกลองยาวได้กล่าวว่า  พม่าได้กลองยาวมาจากไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง
     การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ  มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ  หูคนไทยได้ยินเป็นว่า เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้องก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป  เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น

ลักษณะการแสดง
     ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู  12 บาท  การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง  โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลงผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด  33 ท่า  ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่  30 - 31  คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป  3  ใบ  ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง  และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารพิเศษเฉพาะตัว  ผู้ตีกลองยาวบางพวกก็ตีหกหัวกัน แลบลิ้นปลิ้นตา  กลอกหน้ายักคิ้ว  ยักคอไปพลาง  และถ้าผู้ตีคนใดตีได้จนถึงกับถองหน้ากลองด้วยศอก โขกด้วยคาง   กระทุ้งด้วยเข่า โหม่งด้วยเข่า  โหม่งด้วยหัว  เล่นเอาผู้ตีคลุกฝุ่นคลุกดินขะมุกขะมอมไปทั้งตัวสุดแต่จะให้เสียงกลองยาวดังขึ้นได้เป็นสนุกมาก  และนิยมกันว่าผู้ตีกลองยาวเก่งมากผู้เล่นก็ภูมิใจ  นอกจากนั้นก็มีคนรำแต่งตัวต่าง ๆ สุดแต่สมัครใจ  คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไปร่วมรำด้วยก็ได้เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน  ใครจะสมัครเข้าร่วมเล่นร่วมรำด้วยก็ได้  บางคนก็แต่งตัวพิสดาร  ผัดหน้าทาตัวด้วยแป้งด้วยเขม่าดินหม้อ  หน้าตาเนื้อตัวดำด่าง สุดแต่จะให้คนดูรู้สึกทึ่งและขบขัน  ออกมารำเข้ากับจังหวะเทิงบ้อง  แต่ที่แต่งตัวงาม ๆ เล่นและรำกันเรียบ ๆ น่าดูก็มี  เช่นที่ปรับปรุงขึ้นเล่นโดยศิลปินของกรมศิลปากร  และมีผู้นำแบบอย่างไปเล่นแพร่หลายอยู่ในสมัยนี้
     เพราะฉะนั้นการเล่น   ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา  จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้  ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น  ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน  แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม  และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาหะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย  แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป  เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน

โอกาสที่แสดง
     ประเพณีเล่น  “เถิดเทิงหรือ เทิงบ้องกลองยาว”  ในเมืองไทยนั้น  มักนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรือในงานแห่งแหน ซึ่งต้องเดินเคลื่อนขบวน  เช่น ในงานแห่นาค  แห่พระ และแห่กฐิน  เป็นต้น  เคลื่อนไปกับขบวน  พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสียพักหนึ่ง  แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก  การเล่นเถิดเทิงของกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่  จะแต่งตัวแบบไทย ๆ แต่ยังเป็นประเพณีดั้งเดิม  คือยังใช้โพกหัวด้วยผ้าแพรบาง ๆ ตามแบบพม่าอยู่  นอกจากนี้  ก็เพิ่มผู้รำฝ่ายหญิงแต่งตัวงดงามแบบหญิงไทย  กำหนดแบบแผนลีลาท่ารำ  โดยกำหนดให้มีกลองรำ  กลองยืน  เป็นต้น
     กลองรำ  หมายถึง  ผู้ที่จะแสดงลวดลายในการตีบทพลิกแพลงต่าง ๆ เช่น  ถองหน้า  กลองด้วยศอก  กระทุ้งด้วยเข่า  เป็นต้น
     กลองยืน  หมายถึง  ผู้ตีกลองยืนจังหวะให้การแสดงดำเนินไปอย่างเรียบร้อย  ในขณะที่กลองรำวาดลวดลายรำต้อนนางรำอยู่ไปมา
     การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว  ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนถึงจะแสดงได้เป็นระเบียบและน่าดู  คนดูจะได้เห็นความงามและได้รับความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมวงเล่นด้วยก็ตาม  

การแต่งกาย
     ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ
          1. ชาย  นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง  สวมเสื้อคอกลม  แขนสั้น  เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
          2. หญิง  นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด  ผ่าอกหน้า  ห่มสไบทับเสื้อ  สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ  สร้อยคอ  และต่างหู  ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย

ดนตรีที่ใช้
     เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ โหม่ง  มีประมาณ  4  คน  คนตีกลองยืน 2 คน  คนตีกลองรำ  2  คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน

สถานที่แสดง
     แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆ  หรือบนเวที

จำนวนผู้แสดง
     จำนวนผู้แสดงจะมีเป็นชุดราว 10 คน เป็นอย่างน้อยมีผู้บรรเลงดนตรี 4 คน  คนตีกลองยืน 2 คน  คนตีกลองรำ  2  คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน
 

(ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/392-00/)

ระบำชาวนา

               ระบำชาวนา เป็นระบำชุดหนึ่งที่กรมศิลปกรมอบให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ลีลาท่ารำและทำนองเพลงสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพกสิกรรมของชาวนาผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ

โอกาสที่ใช้แสดง
- งานมงคลต่างๆ
- งานต้อนรับชาวต่างชาติ
-งานอีเว้นต์

(ที่มา : http://www.ichat.in.th/Ramthaishow/topic-readid33208-page1 )

รำแม่ศรี




               รำแม่ศรี แม่ศรีเป็นการเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งมีมาแต่โบราณ นิยมเล่นกันทั่วไปในภาคกลางและอีสานและมักจะเล่นในงานนักขัตฤกษ์ เช่น วันขึ้นปีใหม่และตรุษสงกรานต์โดยมากเล่นกันในหมู่เด็กๆ เพราะการเล่นแม่ศรีเป็นการเล่นทำนองเข้าทรง โดยผูเล่นที่เป็นตัวแม่ศรีจะต้องทำกิริยาเหมือนแม่ศรีมาเข้าทรงสั่นและร่าย รำตามทำนองลูกคู่ร้อง การเล่นเช่นนี้เป็นไปในทางสนุกขบขัน เพราะเป็นการที่ไม่น่าเชื่อถือในเรื่องผีเข้าทรงอย่างใด โดยเฉพาะการเล่นแม่ศรีนี้ไม่ถือว่าเป็นการทรงเจ้า
ในหมู่ผู้เล่นเป็นหญิงล้วนๆ จะเล่นซักกี่คนก็ได้ ทุกคนนั่งเป็นวงกลวมเลือกหญิงที่จัดว่าสวยที่สุดในหมู่คนหนึ่ง สมมุติให้เป็นแม่ศรี และต้องแต่งตัวให้สวยกว่าคนอื่น (ในโบราณใช้ห่มผ้าสีแดงสไบเฉียง) แล้วตัวแม่ศรีนั่งลงตรงกลางวงจะเป็นม้าหรือยกแคร่ขึ้นสำหรับให้แม่ศรีนั่งก็ ได้ ตัวแม่ศรีนั่งพนมมือหลับตาในท่าสมาธิ นอกนั้นนั่งจุดธูปเทียนสำหรับบูชาเพื่อเชิญให้แม่ศรีมาเข้าทรง ผู้สมมุติว่าเป็นแม่ศรี ผู้นั่งทั้งหมดร้องเพลงเชิญและร้องอยู่เรื่อยๆ และในปัจจุบันมักนำการแสดงชุดนี้มาแสดงเป็นหมู่ เพื่อให้เกิดความสวยงามเข้าทำนองเพลงอันไพเราะ การแสดงชุดนี้ ครูจำเรียง พุทธประดับ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงปี ๒๕๓๑ เป็นผู้ให้ท่ารำ

(ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=10-2009&date=22&group=6&gblog=13)























1 ความคิดเห็น: